สาระสำคัญ
ในปัจจุบัน รูปภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ถูกนำมาใช้ในการสื่อความหมายถึงกัน ยิ่งเมื่อมีเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยด้วยแล้ว การสร้างสรรค์งานที่เกี่ยวข้องกับภาพที่เรียกว่างานกราฟิกก็ยิ่งกระทำได้ง่ายและหลากหลายแบบ ตามจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ ดังนั้นการเรียนรู้ถึงงานกราฟิก และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกจึงเป็นเรื่องจำเป็น
จัดประสงค์การเรียนรู้
- บอกความหมายของกราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิกได้
- เรียนรู้ถึงองค์ประกอบของงานกราฟิกและองค์ประกอบศิลป์
- เรียนรู้และเข้าใจถึงปรแกรมกราฟิก ชนิดของกราฟิกและไฟล์ภาพกราฟิก
- เรียนรู้ถึงหลักการใช้สีและแสงในคอมพิวเตอร์
- เรียนรู้ถึงการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกในงานด้านต่างๆหน่วยที่ 1 ความรู้เกี่่ยวกับกราฟิก
เนื้อหาสาระ
- กราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก
- องค์ประกอบของงานกราฟิก
- การจัดองค์ประกอบศิลป์
- โปรแกรมกราฟิก
- ชนิดของภาพกราฟิก
- ความแตกต่างของกราฟิกแบบ 2 มิติ
- ไฟล์ภาพกราฟิก
- หลักการใช้สีและแสงในคอมพิวเตอร์
- คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้ในงานต้านต่างๆ
กราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก
กราฟิก (Graphic) มาจากภาษากรีก ซึ่งหมายถึง การวาดเขียน (Graphikos) และการเขียน (Graphein) กราฟิกจึงหมายถึงศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ยกตัวอย่างเช่น การตกแต่งภาพด้วยการทำ Image Retouching ภาพคนแก่ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการและน่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยกราฟ แผนภูมิ แผนภาพ เป็นต้น
[TOP]
องค์ประกอบของงานกราฟิก
องค์ประกอบหลัก ๆ ในงานกราฟิกจะแบ่งออกเป็น 8 ชนิดคือ จุด เส้น รูปร่างและรูปทรง น้ำหนัก สี ที่ว่าง พื้นผิว และตัวอักษร
- จุด (Dot)
เป็นองค์ประกอบที่มีขนาดเล็ก ไม่มีมิติ จุดเมื่ออยู่ในพื้นที่ว่างจะมีผลต่อความรู้สึกของผู้ดู และเมื่อนำจุดมาเรียงต่อกันจะกลายเป็นเส้น จุดที่รวมตัวกันอย่างหนาแน่นและค่อย ๆ กระจายตัวออกไปจะทำให้เกิดนำหนัก
- เส้น (Line)
เป็นสื่อแสดงขอบเขตของภาพ ขอบเขตของรูปร่าง รูปทรง ขนาดและทิศทาง เส้นมีลักษณะ 2 อย่างได้แก่
- เส้นตรง เป็นเส้นที่แสดงถึงความสง่า เข้มแข้ง ความรู้สึกมั่นคง แข็งแรง ได้แก่
- เส้นโค้ง เป็นเส้นที่ให้ความรู้สึกอ่อนซ้อย นุ่มนวล ร่าเริง ให้ทิศทางการเคลื่อนไหวที่ละมุนละไม
เส้นตรง |
เส้นตั้ง | เป็นเส้นที่แสดงถึงความสูง ความมีระเบียบ |
เส้นนอน | เป็นเส้นที่แสดงถึงความกว้าง ความสงบ ความนิ่งเฉย |
เส้นทแยง | เป็นเส้นที่แสดงความเคลื่อนไหวหรือการไม่อยู่นิ่ง ไม่หนักแน่น อันตราย ความเร็วและแสดงทิศทาง |
เส้นหยัก | เป็นเส้นที่ให้ความรู้สึกตื่นเต้น เคลื่อนไหว แปลกตา ไม่แน่นอน |
เส้นประ | เป็นเส้นที่ให้ความรู้สึกไม่ต่อเนื่อง ขาดหาย ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความเครียด |
เส้นโค้ง |
เส้นโค้งวงแคบ | ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง การเปลี่ยนทิศทาง ที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง |
เส้นโค้งแบบก้นหอย | ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่หมุนวนออกมา ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด |
เส้นโค้งแบบคลื่น | ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพ อ่อนโยน นุ่มนวล |

- รูปร่างและรูปทรง (Shape, Form)
เป็นรูปที่เกิดจากการนำเส้นมาประกอบกันเป็นรูป ได้แก่
- รูปร่าง (Shape) ซึ่งเป็นรูปที่มีลักษณะ 2 มิติ มีเนื้อที่มีขอบเขต
- รูปทรง (Form) เป็นรูปที่มีลักษณะ 3 มิติ มีปริมาตรที่เป็นความหนาหรือความลึก

- น้ำหนัก (Value)
เป็นคุณค่าของความอ่อน-แก่ ของสีหรือแสงเงาที่นำมาใช้ในการแสดงออกทางศิลปะ ทำให้แลดูมีความกลม มีความตื่นเล็ก

ที่มา : http://vis4.net/blog/wp-content/uploads/2011/12/Bildschirmfoto-2011-12-12-um-22.57.54.png
- สี (Color)
เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการสร้างสรรค์งานศิลปะ สีในงานศิลปะจะมีผลต่อจิตใจ เช่น
- สีแดง ทำให้รู้สึกตื่นเต้น มีพลัง รุนแรง
- สีเหลือง ทำให้รู้สึกสนุกสนาน
- สีฟ้า ทำให้รู้สึกสงบ เย็น

- ที่ว่าง (Space)
ในงานศิลปะหมายถึง บริเวณหรือพื้นที่ต่าง ๆ ในงานนั้น ๆ
- พื้นผิว (Texture)
คือลักษณะผิวในงานศิลปะที่ให้ความรู้สึกในการเห็น เช่น ลักษณะหยาบ ขรุขระ ริ้วรอย เรียบ มันวาว เป็นต้น

- ตัวอักษร (Type)
ตัวอักษรเป็นสิ่งที่สำคัญไม่เป็นรองใคร ในการออกแบบงานกราฟิกที่ดี นักออกแบบอาจจะใช้เพียงแค่ตัวอักษรและสี เป็นส่วนประกอบเพียงสองอย่าง เพื่อสร้างสรรค์งานที่สามารถสื่อความหมายออกมาได้

[TOP]
การจัดองค์ประกอบศิลป์
เป็นหลักสำคัญสำหรับผู้สร้างสรรค์ และผู้ศึกษางานศิลปะ เนื่องจากผลงานศิลปะใด ๆ ก็ตาม ล้วนมีคุณค่าอยู่ 2 ประการ
- คุณค่าทางด้านรูปทรง
เกิดจากการนำเอา องค์ประกอบต่าง ๆ ของ ศิลปะ อันได้แก่ เส้น สี แสงและเงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว
ฯลฯ มาจัดเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความงาม ซึ่งแนวทางในการนำองค์ประกอบต่าง ๆ มาจัดรวมกันนั้น
เรียกว่า การจัดองค์ ประกอบศิลป์ (Art Composition)
- คุณค่าทางด้านเรื่องราว
คุณค่าทางด้านเนื้อหา เป็นเรื่องราว หรือสาระของผลงานที่ศิลปินผู้สร้างสรรค ์ต้องการที่จะแสดงออกมา ให้ผู้ชมได้สัมผัส รับรู้ โดยอาศัยรูปลักษณะที่เกิดจากการจัดองค์ประกอบศิลป์นั่นเอง หรืออาจกล่าวได้ว่า ศิลปินนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวผ่านรูปลักษณะที่เกิดจากการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ ถ้าองค์ประกอบที่จัดขึ้น ไม่สัมพันธ์กับเนื้อหาเรื่องราวที่นำเสนอ งานศิลปะนั้นก็จะขาดคุณค่าทางความงามไป
ดังนั้นการจัดองค์ประกอบศิลป์ จึงมีความสำคัญในการสร้างสรรค์งานศิลปะเป็นอย่างยิ่ง
เพราะจะทำให้งานศิลปะทรงคุณค่าทางความงามอย่างสมบูรณ์
การจัดองค์ประกอบศิลป์มีหลักที่ควรคำนึงอยู่ 5 ประการ คือ
- สัดส่วน (Proportion) หมายถึง ความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมระหว่างขนาดขององค์ประกอบที่แตกต่างกัน ทั้งขนาดที่อยู่ในรูปทรงเดียวกันหรือระหว่างรูปทรง และรวมถึงความสัมพันธ์กลมกลืนระหว่างองค์ประกอบทั้งหลายด้วย ซึ่งเป็นความพอเหมาะพอดี ไม่มากไม่น้อยขององค์ประกอบทั้งหลายที่นำมาจัดรวมกัน
- ความสมดุล (Balance) หรือดุลยภาพ หมายถึง น้ำหนักที่เท่ากันขององค์ประกอบ ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง
- จังหวะลีลา (Rhythm) หมายถึง การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการซ้ำกันขององค์ประกอบ เป็นการซ้ำที่เป็นระเบียบ จากระเบียบธรรมาที่มีช่วงห่างเท่า ๆ กัน มาเป็นระเบียบที่สูงขึ้น ซับซ้อนขึ้นจนถึงขั้นเกิดเป็นรูปลักษณะของศิลปะ
- การเน้น (Emphasis) หมายถึง การกระทำให้เด่นเป็นพิเศษกว่าธรรมดา ในงานศิลปะจะต้องมีส่วนใดส่วนหนึ่งหรือจุดใดจุดหนึ่งที่มีความสำคัญกว่าส่วนอื่น ๆ
- เอกภาพ (Unity) ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์ประกอบศิลป์ทั้งด้านรูปลักษณะและด้านเนื้อหาเรื่องราว เป็นการประสานหรือจัดระเบียบของส่วนต่าง ๆ ให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียว
[TOP]
โปรแกรมกราฟิก
ในการทำงานด้านกราฟิกโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นั้น จำเป็นที่ต้องอาศัยโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อจัดการกับงานกราฟิกโดยเฉพาะ ซึ่งโปรแกรมกราฟิกนี้มีอยู่มากมายหลายโปรแกรม แต่ที่เป็นที่นิยมใช้และเป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ โปรแกรม Adobe Photoshop และ Adobe Illustrator ของบริษัท Adobe
ซึ่งทั้งสองโปรแกรมนี้ถึงแม้ว่าจะนำมาใช้ในงานกราฟิกได้เหมือนกัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับงานนั้น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเรามักจะใช้ Adobe Photoshop กับงานกราฟิกแบบ Bitmap หรือ Raster ขณะที่ใช้ Adobe Illustrator กับงานกราฟิกแบบ Vector เป็นต้น

ที่มา : http://fc02.deviantart.net/fs71/i/2011/051/6/3/adobe_ps_ai_cs5_to_cs3_mod_by_shijan-d2rb087.jpg
[TOP]
ชนิดของภาพกราฟิก
ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์นั้นจนะเกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วยสีแดง (Red) สีเขียว (Green) บลู (Blue) โดยใช้หลักการยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปลี่ยนเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สี มาผสมกันทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) ซึ่งมาจากคำว่า Picture กับ Element โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสีและเมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ

ที่มา : http://geeksdreamgirl.com/wp-content/uploads/2010/08/pixel.png
- ภาพกราฟิกแบบบิตแมป (Bitmap) หรือ ราสเตอร์ (Rastor)
คือภาพกราฟิกที่เกิดจากการนำ Pixel มาเรียงต่อกันเพื่อประกอบขึ้นเป็นภาพคล้ายกับการเรียงกระเบื้องโมเสค โดยแต่ละ Pixel จะถูกำหนดตำแหน่งและสีไว้ตายตัว ตัวอย่างของภาพกราฟิกชนิดนี้ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพจากการสแกน ภาพกราฟิกที่สร้างจากโปรแกรมระบายสีทั่วไปเช่น Paint เป็นต้น

ที่มา : http://coding.smashingmagazine.com/wp-content/uploads/2012/07/bitmap-pixels.png
ภาพแบบบิตแมปนี้ จะเป็นภาพที่ขึ้นอยู่กับความละเอียดเนื่องจากถูกประกอบขึ้นด้วยจำนวนจุดที่คงที่เพื่อประกอบกันเป็นภาพนั้น ดังนั้นเมื่อมีการขยายภาพ จำนวนจุดก็ยังคงที่เท่าเดิม แต่ขนาดของจุดจะใหญ่ขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้เสียความคมชัดและเห็นรอยหยักชัดเจน
- ภาพกราฟิกแบบเว็คเตอร์ (Vector)
เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากเส้นตรงและเส้นโค้งที่อาศัยวิธีการทางคณิตศาสตร์รวมกับข้อมูลของตำแหน่ง
และนำมาทำการคำนวณให้เกิดเป็นทางเดินของเส้น เรียกว่า เว็คเตอร์ (Vector) มาประกอบขึ้นเป็นภาพ
รูปทรงของทางเดินของเว็คเตอร์ที่ได้จะถูกวาดด้วยจุดไปตามทางเดินนั้น

ที่มา : http://www.hdwallpapers.in/walls/vector_rainbows-wide.jpg

ที่มา : http://www.logodesignguru.com/a/logo-images/vector_graphic.jpg
ภาพแบบเว็คเตอร์นี้ จะเป็นภาพที่ไม่ขึ้นอยู่กับความละเอียดเนื่องจากเมื่อมีการปรับขนาดของภาพจะใช้วิธีการ
คำนวณค่าใหม่แล้ววาดภาพนั้นขึ้นใหม่ตามขนาดใหม่ที่กำหนด จึงยังคงรายละเอียดและความคมชัดของภาพไว้
ได้เหมาะสำหรับภาพกราฟิกที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงขนาดตามความเหมาะสมเมื่อนำไปใช้งานจริงเช่น โลโก้บริษัท เป็นต้น
Note : เนื่องจากจอภาพคอมพิวเตอร์จะแสดงผลโดยการใช้จุด Pixel ดังนั้นภาพที่แสดงบนจอภาพทั้งสองชนิดก็จะเห็นเป็นจุด Pixel เช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ ภาพกราฟิกยังแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ และแบบ 3 มิติ

ที่มา : http://www.oceplast.com/media/demarche_plans__009742700_1221_05032012.jpg
ภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ
เป็นภาพที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย รูปวาด ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ รวมถึงการ์ตูนต่าง ๆ ในโทรทัศน์ เช่น การ์ตูนเรื่องชินจังและโดเรมอน ซึ่งการ์ตูนจะเป็นภาพกราฟิกเคลื่อนไหว (Animation) โดยจะมีกระบวนการสร้างที่ซับซ้อนกว่าภาพวาดปกติ
ภาพกราฟิกแบบ 3 มิติ
เป็นภาพกราฟิกที่ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรม Maya , 3D Max เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่มีสีและแสงเงาเหมือนจริง เหมาะกับงานด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบต่าง ๆ รวมถึงการสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนหรือโมษณาสินค้าต่าง ๆ เช่น การ์ตูนเรื่องก้านกล้วย , Nemo เป็นต้น
[TOP]
ความแตกต่างของกราฟิกแบบ 2 มิติ

ที่มา : http://www.jewish-clip-art.com/imgs/bitmap-vector-clipart.jpg
ภาพกราฟิกแบบ Bitmap หรือ Raster | ภาพกราฟิกแบบ Vector |
หภาพกราฟิกเกิดจากจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรือ Pixel มาเรียงต่อกันจนกลายเป็นรุปภาพ | ภาพเกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ โดยองค์ประกอบของภาพมีอิสระต่อกัน |
การขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จะทำให้ความละเอียดของภาพลดลง ทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กหรือรอยหยัก | การขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ภาพยังคงความละเอียดคมชัดเหมือนเดิม |
การแตกแต่งและแก้ไขภาพ สามารถทำได้ง่าย และสวยงาม เช่น การ Retouching | เหมาะกับงานออกแบบต่าง ๆ เช่น งานสถาปัตย์ออกแบบโลโก้ เป็นต้น |
การประมวลผลภาพทำได้รวดเร็ว | การประมวลผลภาพจะใช้เวลานานกว่าเนื่องจาก ใช้คำสั่งในการทำงานมาก |
[TOP]
ไฟล์ภาพกราฟิก
ไฟล์ภาพกราฟิกแบบ Bitmap หรือ Raster
เช่น .BMP .DIB .JPG .JPEG .JPE .GIF .TIFF .TIF .PCX .MSP .PCD .FPX .IMG .MSP .TGA เป็นต้น
Format | ลักษณะงาน | โปรแกรมที่ใช้สร้าง |
.JPG .JPEG .JPE .GIF | ใช้สำหรับรูปภาพทั่วไป งานเว็บเพจ และงานที่มีขีดจำกัดด้านหน่วยความจำ | Photoshop, PaintshopPro Illustrator |
.TIFF .TIF | เหมาะสำหรับงานด้านสื่อสิ่งพิมพ์ | Photoshop |
.BMP . DIB | ไฟล์มาตราฐานของระบบ Windows | Paint, Paintbrush |
.PCX | เป็นไฟล์ดั้งเดิมของโปรแกรมแก้ไขภาพแบบบิตแมป ใช้กับภาพทั่วไป | CoralDraw, Illustrator Paintbrush |
ไฟล์ภาพกราฟิกแบบ Vector
เช่น .EPS .WMF .CDR .AI .CGM .DRW . PLT .DXF .PIC .PGL
Format | ลักษณะงาน | โปรแกรมที่ใช้สร้าง |
.AI .EPS | ใช้สำหรับงานที่ต้องการความละเอียดของภาพมาก เช่น การสร้างการ์ตูน โลโก้ เป็นต้น | Illustrator |
.WMF | ไฟล์มาตราฐานของโปรแกรม Microsoft Office | CoralDraw |
ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของภาพกราฟิกแบบ Bitmap หรือ Raster

ที่มา : http://openbox9.com/site/wp-content/uploads/2011/06/imagefileformat_reference_chart.png
[TOP]
หลักการใช้สีและแสงในคอมพิวเตอร์
สีที่ใช้งานด้านกราฟิกทั่วไปมีอยู่หลายระบบด้วยกันคือ
- RGB
- CMYK
- Grayscale
- Bitmap
- HSB
- Lab
- Indexed
RGB
ระบบสี RGB เป็นระบบที่ถูกใช้มากที่สุด โดยจะใช้ช่องสีแบบ 8 บิต 3 ช่อง รับแสง 3 สี
คือ Red (แดง) , Green (เขียว) , Blue (น้ำเงิน) ซึ่งใกล้เคียงกับตามมนุษย์มากที่สุด และแต่ละช่องสีจะสามารถสร้างระดับสีได้ 256 ระดับ
ดังนั้นจึงสามารถสร้างสีที่แตกต่างกันได้ถึง 16,777,216 สีต่อ 1 พิกเซลในภาพ ระบบสี RGB จะเป็นระบบที่ใช้ในจอคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีหน้าจอแสดงผล
RGB จึงเป็นระบบสีที่ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ (Device dependent)
เมื่อนำสีมาผสมกันจะทำให้เกิดสีต่างๆ บนจอคอมพิวเตอร์ เราเรียกการผสมสีแบบนี้ว่า Additive หรือการผสมสีแบบบวก ทั้งนี้เพราะยิ่งเราเพิ่มสีเข้ามาผสมกันมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะได้แสงมารวมกันมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งทำให้สีสว่างขึ้น ซึ่งเมื่อรวมแม่สีทั้งสามเข้าด้วยกันก็จะได้เป็นสีขาว
CMYK
ระบบสี CMYK เป็นระบบสีของการพิมพ์ลงบนกระดาษ ซึ่งใช้ในระบบการพิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์ที่เรียกว่า การพิมพ์ 4 สี โดยจะทำการแปลงสีของภาพไปเป็นเปอร์เซ็นต์ของสี 4 สี CMYK คือ Cyan (ฟ้า) , Magenta (ชมพู) , Yellow (เหลือง) และ Black (ดำ) เพื่อนำไปแยกทำเป็นแม่พิมพ์ (Plate) ของแต่ละสี และเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการพิมพ์แต่ละสีจนครบ 4 สี ก็จะได้ภาพสีที่เหมือนกับภาพสี CMYK ที่ถูกสร้างขึ้นใน Photoshop
ในการผสมสีด้วยการพิมพ์สีแต่ละสีทับกันลงไปนี้ จะเป็นการผสมสีแบบ Subtractive นั่นหมายถึงว่า เมื่อเราพิมพ์สีทับกันมากขึ้น ก็จะเห็นแสงได้ลดน้อยลง (สีทึบขึ้น) ซึ่งตรงกับข้ามกับระบบสี RGB และเมื่อนำแม่สีทั้ง 3 คือ CMY มาผสมกันจะเกิดสีเป็นสีดำ แต่จะไม่ดำสนิท จึงต้องเพิ่มสีดำ (Black) แยกขึ้นมาอีก 1 สี
Grayscale
ระบบสีแบบ Grayscale จะจัดการแต่ละพิกเซลในแบบ 8 บิต เหมือนเป็นสวิทช์เปิด-ปิด แสดง 8 อัน เพื่อสร้างเป็น
1 สีดำ , 1 สีขาว , และ254 ระดับสีเทา มักใช้กับภาพขาว-ดำ หรือแปลงภาพสีเพื่อไปใช้ในงานพิมพ์แบบขาว-ดำ ซึ่งจะทำให้ขนาดของไฟล์ลดลง 2 ใน 3 ของ RGB

ที่มา : ดัดแปลงจาก http://archive.xaraxone.com/guest/guest58/2.html
Bitmap
ระบบสีแบบ Bitmap จะประกอบด้วยสี 2 สี คือ ขาวและดำ บางครั้งเรียกว่า ภาพแบบ 1 บิต ซึ่งแต่ละพิกเซลในภาพจะเป็นได้เพียงขาวหรือดำเท่านั้น มักใช้กับภาพวาดที่วาด้วยหมึกดำ ภาพลายเส้น ภาพสเก็ตซ์ เป็นต้น
HSB
เป็นระบบสีที่เลี่ยนแบบการมองเห็นของสายตามมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
Hue | คือ สีต่างๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตาของเรา ซึ่งมักเรียกสีตามชื่อสี เช่น สีเขียว สีเหลือง สีแดง เป็นต้น |
Saturation | คือ ความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนด Saturation ที่ 0 สีจะมีความสดน้อย แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก |
Brightness | คือ ระดับความสว่างของสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 ความสว่างจะน้อยซึ่งจะเป็นสีดำ แต่ถ้าดำหนดที่ 100 สีจะมีความสว่างมากที่สุด |

ที่มา : http://flylib.com/books/2/471/1/html/2/images/04fig03.jpg
Lab
เป็นระบบสีแบบเก่าที่ถูกกำหนดขึ้นในฝรั่งเศส โดยสร้างขึ้นเพื่อใช้วัดสีที่ตาของเราสามารถรับได้ แต่เนื่องจากขณะนั้นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยังไม่ถือกำเนิดขึ้น
ดังนั้นระบบสี Lab นี้จะไม่ขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์และรบบปฏิบัติการใดโดยเฉพาะ (Device Independent) ระบบสี Lab จะวัดแสงและสีโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
L หรือ Lightness | เป็นการกำหนดความสว่างซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 จะกลายเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 จะเป็นสีขาว |
a | เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง |
b | เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปสีเหลือง |

ที่มา : http://www.sony.ee/support/s_img/articles/topics/color1.JPG
Indexed
ระบบสีแบบ Indexed จะมีข้อได้เปรียบ 2 ประการคือ
- เราสามารถสร้างภาพที่มีขนาดไฟล์เล็กเท่าแบบ Grayscale (พิกเซลขนาด 8 บิต)
- และสามารถใส่สีแทนระดับสีเทาได้ โดยจะสร้างสีได้ 256 สี เท่ากับระดับสีเทาในภาพแบบ Grayscale
[TOP]
คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้งานด้านต่างๆ
ในปัจจุบันมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้การสื่อสารมีสีสันและชีวิตชีวามากขึ้น การใช้ภาพกราฟิกมาประยุกต์ร่วมกับงานด้านต่างๆ ก็เพื่อให้งานดูสวยงามและดึงดูดใจให้น่าใช้งานมากยิ่งขึ้น ซึ่งแบ่งงานด้านภาพกราฟิกออกได้ดังนี้
- คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้านการออกแบบ
คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทกับงานด้านการออกแบบในสาขาต่างๆ เป็นจำนวนมาก เช่น งานด้านสถาปัตย์ออกแบบภายใน การออกแบบรถยนต์ การออกแบบเครื่องจักรกล รวมถึงการออกแบบวงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งโปรแกรมที่ใช้จะเป็นโปรแกรม 3 มิติ เพราะสามารถกำหนดสีและแสงเงาได้เหมือนจริงที่สุด อีกทั้งสามารถดูมุมมองด้านต่างๆ ได้ทุกมุมอง

ที่มา : http://pinksenior.com/interior-design-with-modern-decoration-ideas/simple-interior-decoration/
- คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้านโฆษณา
ปัจจุบันการโฆษณาสินค้าทางโทรทัศน์ได้นำภาพกราฟิกเข้ามาช่วยในการโฆษณาสินค้า เพิ่มเพิ่มความน่าสนใจมากขึ้น เช่น การทำหิมะตกที่ กรุงเทพฯ การนำการ์ตูนมาประกอบการโฆษณาขนมเด็กเป็นต้น และการโฆษณาสินค้าด้วยภาพกราฟิกยังมีอยู่ทุกที่รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นตามป้ายรถเมล์ ข้างรถโดยสาร หน้าร้านค้าตามแหล่งชุมชนต่างๆ เป็นต้น

ที่มา : http://gdj.gdj.netdna-cdn.com/wp-content/uploads/2012/01/poster-advertisement-20.jpg
- คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้านการนำเสนอ
การนำเสนอข้อมูลต่างๆเป็นการสื่อความหมายให้ผู้รับสารเข้าใจในสิ่งที่ผู้สื่อต้องการ และการสื่อสารที่ดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ภาพเข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มความเข้าใจให้กับผู้รับสาร เช่น การสรุปยอดขายสินค้าในแต่ละปีด้วยกราฟ หรือการอธิบายระบบการทำงานของบริษัทด้วยแผนภูมเป็นต้น

ที่มา : http://www.dreamstime.com/royalty-free-stock-image-businessman-doing-presentation-clipart-picture-male-cartoon-character-image35916626
- คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้านเว็บเพจ
ธุรกิจรับสร้างเว็บเพจให้กับบริษัทหรือหน่วยงานต่างๆ ได้นำคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามาช่วยในการสร้างเว็บเพจเพื่อให้เว็บเพจที่สร้างมีความสวยงามน่าดูชมมายิ่งขึ้น

ที่มา : http://www.smashingapps.com/wp-content/uploads/2009/03/25-photoshop-tutorials-for-creating-that-perfect-web-page-design.jpg
- คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้าน Image Retouching
ปัจจุบันธุรกิจคอมพิวเตอร์กราฟิกที่ใช้ในการตกแต่งภาพ (Retouching) ได้เปิดตัวขึ้นเป็นจำนวนมาก เพราะสามารถตอบสนองความต้องการของคนในการทำภาพตามจินตนาการได้เป็นอย่างดี เช่น การทำภาพผิวกายให้ขาวเนียนเหมือนดารา การทำภาพเก่าให้เป็นภาพใหม่ การทำภาพขาวดำเป็นภาพสีหรือการทำภาพคนแก่ให้ดูหนุ่มหรือสาวขึ้น เป็นต้น

ที่มา : http://images1.fanpop.com/images/photos/2200000/image-retouching-photoshop-2267346-716-516.jpg