หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

ในบทนี้เราจะมาดูการจัดวาง การวัดตำแหน่ง และการปรับปรุงทรงภาพตามแบบที่ต้องการ ซึ่งการปรับขนาดภาพ

 หมุนภาพ และบิดภาพนั้นเราเรียกว่าการ "Transform"

การใช้งานเครื่องมือวัดตำแหน่งต่าง ๆ

        ก่อนการตกแต่งภาพ เราควรจะระบุตำแหน่งของวัตถุเหล่านั้นให้ชัดเจน โดยเฉพาะการตกแต่งภาพเฉพาะจุด

 ซึ่งโปรแกรมจะมีเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดวางงานของเราให้สะดวกยิ่งขึ้น ดังนี้

    แถบไม้บรรทัด (Ruler)     ใช้อ้างอิงตำแหน่งและตรวจดูขนาดของวัตถุ

    เส้นไกด์ (Quide)        เป็นเส้นที่ใช้เป็นแนวอ้างอิงในการจัดวางวัตถุในชิ้นงาน

    เส้นกริด (Grid)        เป็นเส้นตารางที่ใช้เป็นแนวอ้างอิง ในการจัดวางวัตถุในชิ้นงาน

    ไม้วัด (Measure Tool)    เป็นไม้บรรทัดที่ใช้วัดระยะทาง ขนาด และวัดมุมความเอียงของวัตถุ

การบอกตำแหน่งภาพด้วย Ruler

        Ruler มีลักษณะเหมือนไม้บรรทัดที่อยู่บริเวณด้านบนและด้านซ้ายของหน้าต่าง เป็นตัวอ้างอิงเพื่อใช้

บอกตำแหน่งของตัวชี้เมาส์บนภาพ การเรียกใช้ Ruler สามารถทำได้ดังนี้

            1.    เลือกเมนูคำสั่ง View>Rulers ให้มีเครื่องหมายถูกเกิดขึ้น เพื่อเรียกใช้งาน Ruler (แถบไม้บรรทัด)

            2.    จะประกฎแถบไม้บรรทัดทั้ง 2 ด้านและเมื่อวางเมาส์บนภาพ จะสังเกตเห็นเส้นปะแสดงตำแหน่ง

บนแถบไม้บรรทัด 2 ด้าน

การเช็ตค่าพิกัดเริ่มต้น (0,0) ของไม้บรรทัด

    ทุกครั้งที่เราเปิดไฟล์ตำแหน่งเริ่มต้นพิกัด (0,0) จะถูกกำหนดไว้มุมบนซ้ายเสมอ สามารถเปลี่ยนตำแหน่งพิกัด

เริ่มต้นไปอยู่ในตำแหน่งใดในภาพก็ได้ เพื่อประโยชน์ในการวัดระยะทาง

        เส้นไกด์เป็นเส้นที่ใช้ในการอ้างอิงระยะบนภาพ เราสามารถใช้เส้นไกด์ได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอนหรืออาจ

นำเส้นทั้ง 2 แนวมาตัดกันให้เกิดพิกัดใหม่เพื่อช่วยในการบ่งบอกระยะสำหรับแก้ไขภาพ การวางวัตถุ เป็นต้น

 โดยเส้นเหล่านี้จะไม่ถูกพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์

        เริ่มต้นด้วยการลากเมาส์ให้เส้นไกด์แสดงออกมา โดยการลากจาก Ruler มาวางไว้บนตำแหน่งใด ๆ ของภาพ

ก็ได้

                1.  นำเมาส์ไปที่แถวไม้บรรทัดในแนวนอน หรือแนวตั้งก็ได้จากนั้นลากเมาส์ออกมาในตำแหน่งที่ต้องการ

ก็จะมีเส้นไกด์บาง ๆ แสดงออกมา(สังเกตว่าขณะที่เลื่อนตัวชี้เมาส์จะมี            สัญลักษณ์ในแนวตั้ง             

และแนวนอน)

                2.  เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการแล้ว ปล่อยเมาส์เส้นไกด์จะเปลี่ยนเป็นสีฟ้า ซึ่งสามารถสร้างกี่เส้นก็ได้

การเคลื่อนย้ายเส้นไกด์

        คลิกเส้นไกด์ที่ต้องการย้ายตำแหน่งจากนั้นตัวชี้เมาส์จะเปลี่ยนเป็นรูป            ให้คลิกเมาส์ค้างไว้และ

ลากไปยังตำแหน่งใหม่ที่ต้องการ

การลบเส้นไกด์

        การลบเส้นไกด์นั้น ทำได้โดยการคลิกค้างไว้ แล้วลากออกไปที่แถบไม้บรรทัด ก็จะเป็นการลบเส้นไกด์ 

แต่ถ้าต้องการลบเส้นไกด์ทั้งหมดให้เลือก View>Clear Guides

การซ่อนและแสดงเส้นไกด์

        เราสามารถซ่อนหรือแสดงเส้นไกด์ได้ตามต้องการ โดยคลิกที่คำสั่ง View>Show>Guide 

(ถ้าเครื่องมีเครื่องหมายถูกอยู่ด้านหน้าจะเป็นการเส้นไกด์ และถ้าเครื่องหมายถูกหายไปจะเป็นการซ่อนเส้นไกด์)

การล๊อคตำแหน่งเส้นไกด์

    ในขณะที่เราทำงาน เราสามารถล๊อคตำแหน่งเส้นไกด์ เพื่อไม่ให้เกิดการเลื่อนตำแหน่ง เมื่อเราเคลื่อนย้าย

บางส่วนของภาพ โดยเลือกคำสั่ง View>Lock Guides ได้

                -   ถ้าต้องการให้ตำแหน่งของเส้นไกด์สัมพันธ์พอดีกับสเกลของไม้บรรทัดให้กดปุ่ม <Shift>

 ค้างไว้ขณะที่ลากเมาส์เลื่อนตำแหน่ง

                -   เราสามารถเปลี่ยนเส้นไกด์สลับไปมาระหว่างแนวตั้งและแนวนอนได้โดยกดปุ่ม<Alt>

 ค้างไว้ แล้วคลิกเมาส์บนเส้นไกด์ที่ต้องการ

        เส้นกริด เป็นเส้นที่ใช้บอกพิกัดเพื่ออ้างอิงตำแหน่ง เกิดจากเส้นแนวตั้งและแนวนอนมาตัดกัน ซึ่งจะแบ่ง

ระยะห่างระหว่างเส้นในระยะที่เท่ากัน เราสามารถทำให้โปรแกรมแสดงเส้นกริดได้ โดยเลือกคำสั่ง

 View>Show>Grid สังเกตว่าหลังจากเลือกแล้วจะปรากฏเครื่องหมายถูกขึ้นมา

ปรับแต่งรายละเอียดการใช้ไม้บรรทัด เส้นไกด์ และเส้นกริด

        ในโปรแกรมยังสามารถกำหนดรายละเอียดของเส้นไกด์และเส้นกริดได้โดยคำสั่ง Edit>Preferencess>

Guides.Grid&Slices ซึ่งจะปรากฏหน้าต่าง Preferences ดังนี้

สร้างความแม่นยำในการทำงานด้วย Snap

            Snap เป็นคำสั่งที่จะทำให้วัตถุที่นำมาวางถูกดูดติดกับแนวที่กำหนดไว้ เราเรียกใช้ Snap โดยเลือกคำสั่ง 

View> Snap ให้มีเครื่องหมายถูกเกิดขึ้นและยกเลิกโดยการคลิกอีกครั้งเพื่อเอาเครื่องหมายถูกออกนั้นเอง

การเลือกใช้ Snap ในลักษณะต่าง ๆ

        -    คำสั่ง View>Snap to>Guides                    ใช้ดูดวัตถุให้ยึดกับแนวเส้นไกด์

        -    คำสั่ง View>Snap to>Grid                        ใช้ดูดวัตถุให้ยึดกับแนวเส้นกริด

        -    คำสั่ง View>Snap to>Layers                    ใช้ดูดวัตถุให้ยึดกับเลเยอร์

        -    คำสั่ง View>Snap to>Slices                      ใช้ดูดวัตถุให้ยึดกับแนวเส้นตัดแบ่ง (Slices)

        -    คำสั่ง View>Snap to>Document Bounds  ใช้ดูดวัตถุให้ยึดกับแนวขอบเอกสาร

        -    คำสั่ง View>Snap to>All ใช้ Snap             ใช้สำหรับทุกลักษณะทั้ง 5 แบบข้างบน

        -    คำสั่ง View>Snap to>None                        ยกเลิกการใช้ Snap ในทุกลักษณะ

ซ่อนการแสดงเครื่องมือบนภาพด้วย Extras

        Extras คือชื่อเรียกโดยรวมของเส้นต่าง ๆ ที่จะไม่แสดงในงานสิ่งพิมพ์ เช่น เส้นกริด เส้นไกด์ เส้นสไลด์ 

เป็นต้นซึ่งเราสามารถใช้คำสั่ง View>Extras  เพื่อเปิด / ปิดการแสดงเส้นเหล่านี้ได้

การวัดระยะทางและองศาของภาพ

        Ruler Tool             เป็นเครื่องมือในการวัดระยะและวัดองศาของภาพที่ใช้งานอยู่ ซึ่งเครื่องมือนี้สามารถซ่อนอยู่

ภายใต้ Eyedropper Tool โดยมีวิธีการใช้งาน ดังนี้

            1.  คลิกเลือก Ruler Tool         จะปรากฏตัวชี้เมาส์เป็นรูป       บนภาพ

2.  ลากเมาส์ระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดปลาย

        3.  กดปุ่ม <Alt> ค้างไว้จะปรากฏตัวชี้เมาส์เป็นรูป          หลังจากนั้นลากเมาส์เป็นมุมไปยังจุดหมายที่ต้องการ

        4.  จากนั้นให้ดูระยะทางและองศาของมุมที่เราใช้เครื่องมือ Ruler Tool ลากได้ โดยดูรายละเอียดได้ที่หน้า

ต่างพาเนล

        Info (คือตัว A คือ มุมของเส้นที่เราลากไปตัว L คือระยะของเส้นที่เราลาก มีหน่วยเหมือนกับ Ruler)

        จากข้างต้นสรุปได้ว่า ในการสร้างงานจะต้องมีการจัดวางและการปรับแต่งรูปทรง โดยใช้เครื่องมือ

ในการวัดตำแหน่งต่าง ๆ ของวัตถุให้ชัดเจน เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างงาน สร้างความแม่นยำ

 และถูกต้องให้กับงาน งานจึงออกมาสวยงามและมีคุณภาพ

        Transform คือ วิธีการนำภาพหรือพื้นที่ภาพที่เราเลือกไว้มาปรับรูปทรงให้แปลกไปจากเดิม เช่น 

ปรับภาพให้เล็กลง ปรับทิศทางการวางภาพให้เอียง ยืดหรือบิดภาพ เป็นต้นซึ่งวิธีการเหล่านี้สามารถปรับ

ได้ตามคำสั่งที่โปรแกรมกำหนดไว้ด้วยคำสั่ง Transform รูปแบบต่าง ๆ และปรับโดยเราเป็นผู้กำหนดเอง

 (Free Transform) โดยใช้คำสั่ง Edit > Transform ภาพ

ปรับขนาดภาพที่ตัดต่อให้พอดี

             ในการซ้อนภาพ บางครั้งภาพที่นำมาไม่สามารถซ้อนกันได้พอดี ต้องมีการปรับขนาดกันก่อน

 โดยใช้คำสั่ง Edit>Transform>Scale ดังตัวอย่างต่อไปนี้

เมื่อได้ภาพในขนาดที่ต้องการแล้วให้กด <Enter> เพื่อสิ้นสุดการปรับภาพ

        หากภาพที่นำมาอยู่ในทิศทางหรือมุมที่ไม่ลงตัว เราสามารถหมุนภาพได้ โดยเลือก

คำสั่ง Edit>Transform>Rotate ดังขั้นตอน ต่อไปนี้

            1.  เลือก Edit>Transform>Rotate เพื่อปรับหมุนภาพ

            2.  ปรากฏกรอบสี่เหลี่ยมล้อมรอบภาพ ให้เลื่อนเมาส์ไปบริเวณไอคอนสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จนตัวชี้เมาส์

เปลี่ยนเป็นรูปลูกศร ลากเมาส์หมุนตามภาพ แล้วกด <Enter>

        หากต้องการปรับขนาดภาพให้ได้สัดส่วน ให้กดแป้น<Shift>ค้างไว้ แล้วลากเมาส์ปรับย่อ/ขยายภาพ

        แม้เราจะหมุนภาพได้อย่างอิสระในคำสั่ง Rotate แต่ถ้าต้องการหมุนภาพครั้งละ 90 องศาและ 180 องศา

อย่างพอดีให้เปลี่ยนไปใช้คำสั่ง Edit> Transform> เลือกคำสั่งหมุนหรือกลับภาพตามต้องการ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

บิดภาพให้แตกต่าง

        เป็นการบิดกรอบภาพให้เอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง ในขณะที่กรอบอีกด้านหนึ่งจะอยู่คงที่

 ทำได้โดยใช้คำสั่ง Edit>Transform>Skew จะปรากฏกรอบสำหรับการบิดภาพ ให้บิดไปซ้ายขวา

 หรือ บนล่างตามต้องการ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

        หลังจากนั้นให้กด<Enter>ก็จะได้ภาพตามรูปทรงที่ต้องการ หรือกด <ESC> เพื่อออกจากการบิดภาพ

กลับสู่ภาพในลักษณะเดิม

        และถ้าต้องการบิดภาพแบบไม่ต้องการสัดส่วนของภาพ ก็สามารถทำได้เช่นกัน 

โดยเลือกใช้คำสั่ง Edit>Transform>Distort แล้วใช้เมาส์บิดตรงส่วนมุมของภาพ โดยตัวอย่างจะทำการบิดภาพ

ให้เข้ากับแนวกล่อง

บิดภาพให้ดูมีมิติใกล้ไกล (Perspective)

    เป็นการบิดภาพเพื่อสร้างมิติ ให้มีความลึก ความสูง สร้างความรู้สึกใกล้ไกลให้กับภาพ

 โดยเลือกใช้คำสั่ง Edit>Transform> Perspective

ดัดภาพให้โค้ง (Warp)

    เป็นการดัดภาพแนวโค้ง สำหรับใช้ในการสร้างลวดลายบนวัตถุที่มีผิวโค้ง เช่นการสร้างลวดลายบนแก้ว

 ขวด เป็นต้น ทำได้โดยเลือกคำสั่ง Edit>Transform>Warp ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ปรับแต่งภาพที่ซ้อนกันให้สวยสมจริง

            การประยุกต์ใช้เลเยอร์ เพื่อให้ภาพที่ซ้อนด้านบนเข้าเคลือบบนผิวของแก้วน้ำการใช้

คำสั่ง Edit>Transform>Again เป็นการทำซ้ำคำสั่งที่ใช้ไปก่อนหน้า

            เราสามารถใช้คำสั่ง Transform อย่างต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องกด <Enter>เพื่อจบการใช้คำสั่งแรกก่อน

ที่จะใช้คำสั่งต่อไป เช่น เมื่อเราขยายภาพด้วยคำสั่ง Scale จนได้ขนาดภาพที่ต้องการแล้วต่อไปเราจะเรียกใช้

คำสั่ง Rotate เพื่อหมุนภาพในมุมที่ต้องการ และสามารถใช้คำสั่ง Transform  อื่น ๆ ได้อีกจากนั้น

ให้กด<Enter>เพื่อตกลงใช้ภาพที่ได้ทำการปรับแต่งด้วยคำสั่งทั้งหมด

ปรับขนาดพื้นหลังโดยไม่ให้องค์ประกอบผิดเพี้ยนไป

          Content Aware Scale จะเป็นสิ่งที่จะช่วยเราให้สามารถปรับขนาดภาพที่ใหญ่เกินความต้องการให้เล็กลง

โดยที่ไม่ต้องตัดภาพบางส่วนทิ้งไปและไม่ทำให้รูปองค์ประกอบหลักผิดขนาดเพราะถูกบีบภาพ หรือถูกขยายภาพ

คุณลักษณะต่าง ๆ ของ Content Aware Scale

            จากข้างต้นสรุปได้ว่า การปรับแต่งรูปทรงจะต้องใช้เครื่องมือในการจัดวางที่เหมาะสม และในการปรับภาพ

ด้วยวิธี Transform สามารถทำให้ภาพมีการปรับขนาดภาพ หมุนภาพ และบิดภาพเพื่อให้ได้รูปทรงภาพ

ในแบบที่เราต้องการ