หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การสร้างและปรับแต่งข้อความ

 สาระการเรียนรู้

1 ประเภทและเครื่องมือในการสร้างตัวอักษร

2. การสร้างและปรับแต่งข้อความ

การสร้างงานกราฟิกนอกจากจะเป็นการนำภาพหลาย ๆ ภาพมาประกอบเข้าด้วยกันแล้ว ยังสามารถ

ใส่ข้อความลงในในงานนั้น ๆ ได้ด้วยเพราะข้อความจะสามารถทำให้งานที่ได้สื่อความหมายได้ตรงกัน 

ซึ่งจะทำให้งานนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การสร้างและปรับแต่งข้อความ

        ตัวอักษรที่ใช้ในโปรแกรมกราฟิก โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบเวกเตอร์ และ แบบบิตแมพ 

ดังนี้

แบบเวกเตอร์ (Vector)

               ตัวอักษรแบบเวกเตอร์ จะเกิดจากการลากเส้นตรง เส้นโค้งที่คำนวณด้วยสมการทางคณิตศาสตร์จุดหนึ่ง

ไปสู่อีกจุดหนึ่งต่อเนื่องจนเกิดเป็นภาพหรือตัวอักษร   ตัวอักษรแบบเวกเตอร์จะไม่มีปัญหาเรื่องรอยแตกบนขอบ

ตัวอักษร เมื่อเกิดการย่อ/ขยายตัวอักษรมากๆ จึงเหมาะสำหรับนำมาใช้ในงานสิ่งพิมพ์ และงานศิลป์ อย่างไรก็ตาม 

ตัวอักษรแบบนี้จะนำไปตกแต่งแอฟเฟ็กต์โดยใช้ฟิลเตอร์ไม่ได้

แบบบิตแมพ (Bitmap)

               ตัวอักษรแบบบิตแมพ จะเกิดจากการเรียงช่องสีเป็นตารางเพื่อสร้างภาพ หรือตัวอักษร ทำให้สะดวก

ในการประมวลผลเรื่องสี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงสีและการตกแต่งภาพ ฉะนั้นข้อดีของอักษรแบบบิตแมพ 

คือสามารถใช้ได้กับการใส่เอฟเฟ็กต์และฟิลเตอร์ ในขณะที่ข้อเสีย คือ เมื่อมีการขยายขนาดจะทำให้ช่องสี

ขยายใหญ่เกินไปจนเห็นตัวอักษรแตกเป็นช่องเหลี่ยม ๆ

จากข้างต้นเราสามารถสรุปข้อดีข้อเสียในการใช้งานได้ ดังนี้

                                    ตัวอักษรเวกเตอร์ (Vector)    ตัวอักษรบิตแมพ (Bitmap)

1. ปรับเปลี่ยนขนาดได้ตามใจชอบ ภาพไม่แตก                 1. ปรับเปลี่ยนขนาด ภาพจะแตก

2. แก้ไขข้อความได้ง่าย                                                     2. แก้ไขข้อความยาก หรือแก้ไขไม่ได้

3. การปรับแต่งสีและลูกเล่นทำได้น้อยมาก                        3. การปรับแต่งสีและลูกเล่นทำได้มาก

4. เหมาะสำหรับใช้งานสิ่งพิมพ์และงานศิลป์                     4. เหมาะสำหรับใส่เอฟเฟ็กต์และฟิลเตอร์

               สรุปได้ว่า ตัวอักษรแบบเวกเตอร์   จะใช้กับข้อความทั่วไปที่ต้องการความคมชัด และตัวอักษร

แบบบิตแมพ    จะใช้กับข้อความที่ต้องการเน้นโดยการใส่เอฟเฟ็กต์พิเศษ

ใน Photoshop  สามารถสร้างข้อความได้ โดยใช้คำสั่ง ในหมวด Type Tool ใน Toolbox ซึ่งมีลักษณะการใช้งาน

ที่แตกต่างกันไป 4 รูปแบบ

ปรับรูปแบบ สี ขนาดและรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวอักษรในออฟชันบาร์ ดังนี้

โดยเราสามารถปรับขนาดของการแสดงฟอนต์ในช่อง Preview ให้มีขนาดเล็กใหญ่หรือไม่แสดงได้

โดยคลิกที่  Type>Font Preview Type>Preview

            จากข้างต้นสรุปได้ว่า ตัวอักษรที่ใช้ในการสร้างงานกราฟิกมี  2  แบบ คือ แบบเวกเตอร์และแบบบิตแมพ

 ซึ่งต้องใช้ให้เหมาะสมกับงานแต่ละประเภท ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างงานกราฟิกก็มีหลายแบบซึ่ง

แต่ละแบบต้องเลือกให้เหมาะสมกับประเภทของตัวอักษรนั้น ๆ

            ตัวอักษรแบบเวกเตอร์ เหมาะสำหรับการนำเสนอข้อความที่มีความคมชัด ไม่มีเอฟเฟ็กต์มากนัก 

ซึ่งมีอยู่  2 รูปแบบด้วยกันคือ Point type และ Paragraph type ซึ่งต่างกันตรงที่ Point type จะเป็นข้อความชื่อเรื่อง

 ส่วน Paragraph type จะเป็นข้อความเนื้อเรื่องที่มีหลายบรรทัดหรือมีลักษณะเป็นย่อหน้า

การสร้างตัวอักษรแบบ Point type

    จากตัวอย่างจะสร้างภาพกราฟิก โดยมีตัวอักษรแบบ Point type เป็นส่วนประกอบ ดังนี้

การสร้างตัวอักษรแบบ Paragraph type

            ตัวอักษรแบบ  Paragraph type จะมีลักษณะเป็นข้อความที่มีหลายบรรทัด หรือย่อหน้าสามารถสร้างข้อความ

ได้โดยการคลิกกำหนดพื้นที่เป็นกรอบสี่เหลี่ยมก่อน จากนั้นพิมพ์ข้อความที่ต้องการลงไป

การจัดเรียงข้อความในย่อหน้า

        เราสามารถแก้ไขและจัดเรียงข้อความในย่อหน้าได้ โดยคลิกเมาส์ปุ่ม       ที่อยู่บนออปชันบาร์

 เพื่อเปิดหน้าต่าง Paragraph

การกำหนดรูปแบบของตัวอักษรเพิ่มเติม

            การปรับแต่งรูปแบบตัวอักษรได้เพิ่มเติม โดยอาศัยการคลิกเมาส์ที่ปุ่ม           บนออปชันบาร์ 

หรือเลือกคำสั่ง Window>Character ให้มีเครื่องหมายถูกเกิดขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ คือ

            โหมดสี Multichannel, Bitmap และ Indexed Color จะไม่สนับสนุนการทำงานแบบเลเยอร์ 

เมื่อเราทำการพิมพ์ข้อความลงไปขณะที่ใช้งานในโหมดสีเหล่านี้ จะไม่สามารถแก้ไขข้อความได้ 

หากเราต้องการแยกข้อความให้อยู่อีกเลเยอร์เพื่อทำการแก้ไขข้อความภายหลัง เราจะต้องใช้

โหมดสีอื่นในการทำงาน

            เราสามารถเลือกพื้นที่รูปแบบตัวอักษรได้ โดยใช้           Horizontal Type Mask  Tool  สร้างขอบเขต

ตัวอักษรในแนวนอน และ            Vertical Type Mask Tool  เพื่อสร้างขอบเขตตัวอักษรในแนวตั้ง 

จากนั้นเราสามารถเทสี ไล่สี หรือตัดพื้นที่ภาพให้อยู่ในขอบเขตของข้อความ เพื่อนำไปใช้ตกแต่งภาพ

ได้ตามต้องการ ได้ดังนี้

เทสีแบบไล่สีในตัวอักษร

        จากตัวอย่าง เราจะทำการสร้างตัวอักษรแบบบิตแมพ โดยการเทไล่สีในข้อความ ดังนี้

ตัดลวดลายจากภาพเป็นตัวอักษร

            จะเลือกพื้นที่เป็นข้อความจากภาพพื้นหลังจากนั้นใช้เครื่องมือ Move Tool             

ตัดลวดลายมาใช้งาน

                1. ใช้           พิมพ์เพื่อเลือกพื้นที่เป็นตัวอักษร

2. ใช้            ตัดลวดลายจากพื้นที่ที่เลือกในข้อความไปใช้งาน

การตกแต่งข้อความด้วยพาเนล

        พาแนล Styles จะรวบรวมเอฟเฟกพิเศษต่าง ๆ สำหรับใช้ตกแต่งได้ทั้งตัวอักษร ในแบบเวกเตอร์และบิตแมพ

1.    คลิกเมาส์            แล้วพิมพ์ข้อความที่ต้องการ (ตัวอย่างพิมพ์คำว่า Freestyle)

2.    เลือก Window>Style เพื่อเปิดพาแนล Styles

3.    คลิก           เลือกกลุ่มสไตล์สำเร็จรูปที่ต้องการ

            เนื่องจากข้อความแบบเวกเตอร์ให้ความคมชัด ในขณะที่ข้อความแบบมิตแมพ นำไปตกแต่งเอฟเฟ็กต์

โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ของ Photoshop ได้ ดังนั้นถ้าเราต้องการนำจุดดีของทั้งสองแบบให้เราเริ่มโดย

การสร้างข้อความแบบเวกเตอร์ก่อน เมื่อวางที่ตำแหน่งและขนาดเหมาะสม  จะแปลงข้อความเป็นแบบบิตแมพ

 ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตกแต่งข้อความด้วย  Layer Style

        Layer Style เป็นการใส่เอฟเฟ็กต์พิเศษให้กับข้อความได้ทั้งแบบเวกเตอร์และบิตแมต ได้แก่ การใส่เงา

 การทำให้ดูนูนขึ้นมา และการเจาะให้ดูลึกลงไป เป็นต้น ซึ่งจะตกแต่งให้กับภาพ หรือข้อความที่เราเลือก

ปรับแต่งตัวอักษรให้พลิ้วไหว

        เทคนิคนี้จะใช้กับตัวอักษรแบบบิตแมต โดยจะดัดข้อความให้โค้งอิสระ เมื่อมองดูแล้วก็สบายตา 

สามารถปรับแต่งข้อความให้โค้งและพลิ้วไหวตามรูปทรงต่าง ๆ ตามจินตนาการของเราได้ ปรับแต่งอักษร

ให้โค้งด้วย Warp text  เราสามารถดัดแปลงข้อความให้โค้งได้ ดังนี้

การสร้างสไตล์ตัวอักษรด้วย Character Style

        การสร้างสไตล์ตัวอักษร ช่วยให้สามารถสร้างชิ้นงานประเภทข้อความได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งทำได้โดย

การนำสไตล์ตัวอักษรที่ใช้งานบ่อย ๆ ครั้งบันทึกลงพาเนล Character Styles  และเมื่อต้องการเรียกใช้งาน 

ให้คลิกสไตล์ตัวอักษรนั้น ๆ  ก็จะได้รูปแบบตัวอักษรที่ต้องการขึ้นมา

การเรียกใช้งานสไตล์ตัวอักษรที่สร้างขึ้น

                เมื่อสร้างสไตล์ ตัวอักษรเรียบร้อยแล้ว จะปรากฏสไตล์ที่สร้างขึ้นในพาเนลสไตล์ ให้คลิกเลือกใช้งาน

การสร้างรูปแบบการจัดวางข้อความด้วย  Paragraph Styles

            การสร้างรูปแบบการจัดวางข้อความ เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยลดเวลาการทำงานในการจัดย่อหน้า 

การจัดวางข้อความในประโยค รวมไปถึงการกำหนดสี ขนาด รูปแบบฟอนต์ด้วย ซึ่งเราสามารถสร้าง

และเก็บไว้ในพาเนล Paragraph Styles และเมื่อต้องการเรียกใช้งาน ให้คลิกที่รูปแบบที่ได้สร้างไว้ก็จะ

ได้สไตล์ข้อความและรูปแบบการจัดวางที่ต้องการ

การเรียกใช้งานรูปแบบการจัดวางข้อความ

            เริ่มต้นด้วยพิมพ์ข้อความไว้ก่อนแล้วคลิกเลือกสไตล์ในพาเนล Paragraph Styles หรือคลิกเลือก

สไตล์ที่มีอยู่ แล้วค่อยเริ่มต้นพิมพ์ข้อความก็ได้ ซึ่งมีวิธีการดังนี้

            เราสามารถเรียกใช้งานคำสั่ง Paragraph Styles และCharacter Style ในไฟล์งานชิ้นอื่น ๆ มาใช้ร่วมกับ

ไฟล์งานปัจจุบันได้ โดยให้คลิกเลือกที่คำสั่ง Load…ในพาเนลแล้วโหลดไฟล์งาน ที่ต้องการขึ้นมา

 ในตัวอย่างจะเป็นการโหลด Paragraph Styles จากไฟล์งานอื่นมาใช้งาน ซึ่งมีวิธีการดังนี้

            จากข้างต้นสรุปได้ว่า ตัวอักษรที่ใช้ในการสร้างงานกราฟิกมี  2  แบบ คือ แบบเวกเตอร์และแบบบิตแมพ

 ซึ่งต้องใช้ให้เหมาะสมกับงานแต่ละประเภท  คือ   ตัวอักษรแบบเวกเตอร์จะเกิดจากการลากเส้นตรง

 เส้นโค้งที่คำนวณด้วยสมการทางคณิตศาสตร์จุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่งต่อเนื่องจนเกิดเป็นภาพหรือตัวอักษร 

 ตัวอักษรแบบเวกเตอร์จะไม่มีปัญหาเรื่องรอยแตกบนขอบตัวอักษร เมื่อเกิดการย่อ/ขยายตัวอักษรมากๆ

 ซึ่งอักษรแบบเวกเตอร์จะสามารถปรับเปลี่ยนขนาดได้ตามใจชอบ ภาพไม่แตก แก้ไขข้อความได้ง่าย 

แต่จะปรับแต่งสีและลูกเล่นทำได้น้อยมาก จึงเหมาะสำหรับนำมาใช้ในงานสิ่งพิมพ์ และงานศิลป์  

ส่วนตัวอักษรแบบบิตแมพ จะเกิดจากการเรียงช่องสีเป็นตารางเพื่อสร้างภาพ หรือตัวอักษร ทำให้สะดวก

ในการประมวลผลเรื่องสี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงสีและการตกแต่งภาพ เมื่อปรับเปลี่ยนขนาดแล้วภาพจะแตก

 จะแก้ไขข้อความยาก หรือแก้ไขไม่ได้ แต่สามารถปรับแต่งสีและลูกเล่นทำได้มาก ซึ่งเหมาะสำหรับใส่เอฟเฟ็กต์

และฟิลเตอร์