โปรแกรมกราฟิก (Adobe Photoshop cs6)

หน่วยที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับกราฟิก

สาระสำคัญ

ในปัจจุบัน รูปภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ถูกนำมาใช้ในการสื่อความหมายถึงกัน ยิ่งเมื่อมีเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยด้วยแล้ว การสร้างสรรค์งานที่เกี่ยวข้องกับภาพที่เรียกว่างานกราฟิกก็ยิ่งกระทำได้ง่ายและหลากหลายแบบ ตามจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ ดังนั้นการเรียนรู้ถึงงานกราฟิก และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกจึงเป็นเรื่องจำเป็น

 จัดประสงค์การเรียนรู้

 เนื้อหาสาระ

 กราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก

กราฟิก (Graphic) มาจากภาษากรีก ซึ่งหมายถึง การวาดเขียน (Graphikos) และการเขียน (Graphein) กราฟิกจึงหมายถึงศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตามที่ผู้สื่อสารต้องการ

คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ยกตัวอย่างเช่น การตกแต่งภาพด้วยการทำ Image Retouching ภาพคนแก่ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการและน่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยกราฟ แผนภูมิ แผนภาพ เป็นต้น

[TOP]

 องค์ประกอบของงานกราฟิก

องค์ประกอบหลัก ๆ ในงานกราฟิกจะแบ่งออกเป็น 8 ชนิดคือ จุด เส้น รูปร่างและรูปทรง น้ำหนัก สี ที่ว่าง พื้นผิว และตัวอักษร

เป็นองค์ประกอบที่มีขนาดเล็ก ไม่มีมิติ จุดเมื่ออยู่ในพื้นที่ว่างจะมีผลต่อความรู้สึกของผู้ดู และเมื่อนำจุดมาเรียงต่อกันจะกลายเป็นเส้น จุดที่รวมตัวกันอย่างหนาแน่นและค่อย ๆ กระจายตัวออกไปจะทำให้เกิดนำหนัก

เป็นสื่อแสดงขอบเขตของภาพ ขอบเขตของรูปร่าง รูปทรง ขนาดและทิศทาง เส้นมีลักษณะ 2 อย่างได้แก่

 

เป็นรูปที่เกิดจากการนำเส้นมาประกอบกันเป็นรูป ได้แก่

 

เป็นคุณค่าของความอ่อน-แก่ ของสีหรือแสงเงาที่นำมาใช้ในการแสดงออกทางศิลปะ ทำให้แลดูมีความกลม มีความตื่นเล็ก

ที่มา : http://vis4.net/blog/wp-content/uploads/2011/12/Bildschirmfoto-2011-12-12-um-22.57.54.png

 

เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการสร้างสรรค์งานศิลปะ สีในงานศิลปะจะมีผลต่อจิตใจ เช่น

 

ในงานศิลปะหมายถึง บริเวณหรือพื้นที่ต่าง ๆ ในงานนั้น ๆ

คือลักษณะผิวในงานศิลปะที่ให้ความรู้สึกในการเห็น เช่น ลักษณะหยาบ ขรุขระ ริ้วรอย เรียบ มันวาว เป็นต้น

ตัวอักษรเป็นสิ่งที่สำคัญไม่เป็นรองใคร ในการออกแบบงานกราฟิกที่ดี นักออกแบบอาจจะใช้เพียงแค่ตัวอักษรและสี เป็นส่วนประกอบเพียงสองอย่าง เพื่อสร้างสรรค์งานที่สามารถสื่อความหมายออกมาได้

 

[TOP]

 การจัดองค์ประกอบศิลป์

เป็นหลักสำคัญสำหรับผู้สร้างสรรค์ และผู้ศึกษางานศิลปะ เนื่องจากผลงานศิลปะใด ๆ ก็ตาม ล้วนมีคุณค่าอยู่ 2 ประการ

การจัดองค์ประกอบศิลป์มีหลักที่ควรคำนึงอยู่ 5 ประการ คือ

 

[TOP]

 โปรแกรมกราฟิก

ในการทำงานด้านกราฟิกโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นั้น จำเป็นที่ต้องอาศัยโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อจัดการกับงานกราฟิกโดยเฉพาะ ซึ่งโปรแกรมกราฟิกนี้มีอยู่มากมายหลายโปรแกรม แต่ที่เป็นที่นิยมใช้และเป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ โปรแกรม Adobe Photoshop และ Adobe Illustrator ของบริษัท Adobe

ซึ่งทั้งสองโปรแกรมนี้ถึงแม้ว่าจะนำมาใช้ในงานกราฟิกได้เหมือนกัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับงานนั้น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเรามักจะใช้ Adobe Photoshop กับงานกราฟิกแบบ Bitmap หรือ Raster ขณะที่ใช้ Adobe Illustrator กับงานกราฟิกแบบ Vector เป็นต้น

ที่มา : http://fc02.deviantart.net/fs71/i/2011/051/6/3/adobe_ps_ai_cs5_to_cs3_mod_by_shijan-d2rb087.jpg

 

[TOP]

 ชนิดของภาพกราฟิก

ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์นั้นจนะเกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วยสีแดง (Red) สีเขียว (Green) บลู (Blue) โดยใช้หลักการยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปลี่ยนเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สี มาผสมกันทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) ซึ่งมาจากคำว่า Picture กับ Element โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสีและเมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ

ที่มา : http://geeksdreamgirl.com/wp-content/uploads/2010/08/pixel.png

Note : เนื่องจากจอภาพคอมพิวเตอร์จะแสดงผลโดยการใช้จุด Pixel ดังนั้นภาพที่แสดงบนจอภาพทั้งสองชนิดก็จะเห็นเป็นจุด Pixel เช่นเดียวกัน

 

นอกจากนี้ ภาพกราฟิกยังแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ และแบบ 3 มิติ

ที่มา : http://www.oceplast.com/media/demarche_plans__009742700_1221_05032012.jpg

ภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ

เป็นภาพที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย รูปวาด ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ รวมถึงการ์ตูนต่าง ๆ ในโทรทัศน์ เช่น การ์ตูนเรื่องชินจังและโดเรมอน ซึ่งการ์ตูนจะเป็นภาพกราฟิกเคลื่อนไหว (Animation) โดยจะมีกระบวนการสร้างที่ซับซ้อนกว่าภาพวาดปกติ

ภาพกราฟิกแบบ 3 มิติ

เป็นภาพกราฟิกที่ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรม Maya , 3D Max เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่มีสีและแสงเงาเหมือนจริง เหมาะกับงานด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบต่าง ๆ รวมถึงการสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนหรือโมษณาสินค้าต่าง ๆ เช่น การ์ตูนเรื่องก้านกล้วย , Nemo เป็นต้น

[TOP]

 ความแตกต่างของกราฟิกแบบ 2 มิติ

ที่มา : http://www.jewish-clip-art.com/imgs/bitmap-vector-clipart.jpg

[TOP]

 ไฟล์ภาพกราฟิก

ไฟล์ภาพกราฟิกแบบ Bitmap หรือ Raster

เช่น .BMP .DIB .JPG .JPEG .JPE .GIF .TIFF .TIF .PCX .MSP .PCD .FPX .IMG .MSP .TGA เป็นต้น

 

ไฟล์ภาพกราฟิกแบบ Vector

เช่น .EPS .WMF .CDR .AI .CGM .DRW . PLT .DXF .PIC .PGL

 

ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของภาพกราฟิกแบบ Bitmap หรือ Raster

ที่มา : http://openbox9.com/site/wp-content/uploads/2011/06/imagefileformat_reference_chart.png

[TOP]

 หลักการใช้สีและแสงในคอมพิวเตอร์

สีที่ใช้งานด้านกราฟิกทั่วไปมีอยู่หลายระบบด้วยกันคือ

RGB

ระบบสี RGB เป็นระบบที่ถูกใช้มากที่สุด โดยจะใช้ช่องสีแบบ 8 บิต 3 ช่อง รับแสง 3 สี

คือ Red (แดง) , Green (เขียว) , Blue (น้ำเงิน) ซึ่งใกล้เคียงกับตามมนุษย์มากที่สุด และแต่ละช่องสีจะสามารถสร้างระดับสีได้ 256 ระดับ

ดังนั้นจึงสามารถสร้างสีที่แตกต่างกันได้ถึง 16,777,216 สีต่อ 1 พิกเซลในภาพ ระบบสี RGB จะเป็นระบบที่ใช้ในจอคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีหน้าจอแสดงผล

RGB จึงเป็นระบบสีที่ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ (Device dependent)

เมื่อนำสีมาผสมกันจะทำให้เกิดสีต่างๆ บนจอคอมพิวเตอร์ เราเรียกการผสมสีแบบนี้ว่า Additive หรือการผสมสีแบบบวก ทั้งนี้เพราะยิ่งเราเพิ่มสีเข้ามาผสมกันมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะได้แสงมารวมกันมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งทำให้สีสว่างขึ้น ซึ่งเมื่อรวมแม่สีทั้งสามเข้าด้วยกันก็จะได้เป็นสีขาว

ที่มา : http://www.delovoygorod.com

CMYK

ระบบสี CMYK เป็นระบบสีของการพิมพ์ลงบนกระดาษ ซึ่งใช้ในระบบการพิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์ที่เรียกว่า การพิมพ์ 4 สี โดยจะทำการแปลงสีของภาพไปเป็นเปอร์เซ็นต์ของสี 4 สี CMYK คือ Cyan (ฟ้า) , Magenta (ชมพู) , Yellow (เหลือง) และ Black (ดำ) เพื่อนำไปแยกทำเป็นแม่พิมพ์ (Plate) ของแต่ละสี และเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการพิมพ์แต่ละสีจนครบ 4 สี ก็จะได้ภาพสีที่เหมือนกับภาพสี CMYK ที่ถูกสร้างขึ้นใน Photoshop

ในการผสมสีด้วยการพิมพ์สีแต่ละสีทับกันลงไปนี้ จะเป็นการผสมสีแบบ Subtractive นั่นหมายถึงว่า เมื่อเราพิมพ์สีทับกันมากขึ้น ก็จะเห็นแสงได้ลดน้อยลง (สีทึบขึ้น) ซึ่งตรงกับข้ามกับระบบสี RGB และเมื่อนำแม่สีทั้ง 3 คือ CMY มาผสมกันจะเกิดสีเป็นสีดำ แต่จะไม่ดำสนิท จึงต้องเพิ่มสีดำ (Black) แยกขึ้นมาอีก 1 สี

 

Grayscale

ระบบสีแบบ Grayscale จะจัดการแต่ละพิกเซลในแบบ 8 บิต เหมือนเป็นสวิทช์เปิด-ปิด แสดง 8 อัน เพื่อสร้างเป็น

1 สีดำ , 1 สีขาว , และ254 ระดับสีเทา มักใช้กับภาพขาว-ดำ หรือแปลงภาพสีเพื่อไปใช้ในงานพิมพ์แบบขาว-ดำ ซึ่งจะทำให้ขนาดของไฟล์ลดลง 2 ใน 3 ของ RGB

ที่มา : ดัดแปลงจาก http://archive.xaraxone.com/guest/guest58/2.html

 

Bitmap

ระบบสีแบบ Bitmap จะประกอบด้วยสี 2 สี คือ ขาวและดำ บางครั้งเรียกว่า ภาพแบบ 1 บิต ซึ่งแต่ละพิกเซลในภาพจะเป็นได้เพียงขาวหรือดำเท่านั้น มักใช้กับภาพวาดที่วาด้วยหมึกดำ ภาพลายเส้น ภาพสเก็ตซ์ เป็นต้น

 

HSB

เป็นระบบสีที่เลี่ยนแบบการมองเห็นของสายตามมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

Hue

Saturation

Brightness

คือ สีต่างๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตาของเรา ซึ่งมักเรียกสีตามชื่อสี เช่น สีเขียว สีเหลือง สีแดง เป็นต้น

คือ ความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนด Saturation ที่ 0 สีจะมีความสดน้อย แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก

คือ ระดับความสว่างของสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 ความสว่างจะน้อยซึ่งจะเป็นสีดำ แต่ถ้าดำหนดที่ 100 สีจะมีความสว่างมากที่สุด

ที่มา : http://flylib.com/books/2/471/1/html/2/images/04fig03.jpg

 

Lab

เป็นระบบสีแบบเก่าที่ถูกกำหนดขึ้นในฝรั่งเศส โดยสร้างขึ้นเพื่อใช้วัดสีที่ตาของเราสามารถรับได้ แต่เนื่องจากขณะนั้นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยังไม่ถือกำเนิดขึ้น

ดังนั้นระบบสี Lab นี้จะไม่ขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์และรบบปฏิบัติการใดโดยเฉพาะ (Device Independent) ระบบสี Lab จะวัดแสงและสีโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

L หรือ Lightness

a

b

เป็นการกำหนดความสว่างซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 จะกลายเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 จะเป็นสีขาว

เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง

เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปสีเหลือง

ที่มา : http://www.sony.ee/support/s_img/articles/topics/color1.JPG

 

Indexed

ระบบสีแบบ Indexed จะมีข้อได้เปรียบ 2 ประการคือ

[TOP]

 

 คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้งานด้านต่างๆ

ในปัจจุบันมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้การสื่อสารมีสีสันและชีวิตชีวามากขึ้น การใช้ภาพกราฟิกมาประยุกต์ร่วมกับงานด้านต่างๆ ก็เพื่อให้งานดูสวยงามและดึงดูดใจให้น่าใช้งานมากยิ่งขึ้น ซึ่งแบ่งงานด้านภาพกราฟิกออกได้ดังนี้

คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทกับงานด้านการออกแบบในสาขาต่างๆ เป็นจำนวนมาก เช่น งานด้านสถาปัตย์ออกแบบภายใน การออกแบบรถยนต์ การออกแบบเครื่องจักรกล รวมถึงการออกแบบวงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งโปรแกรมที่ใช้จะเป็นโปรแกรม 3 มิติ เพราะสามารถกำหนดสีและแสงเงาได้เหมือนจริงที่สุด อีกทั้งสามารถดูมุมมองด้านต่างๆ ได้ทุกมุมอง

ที่มา : http://pinksenior.com/interior-design-with-modern-decoration-ideas/simple-interior-decoration/

ปัจจุบันการโฆษณาสินค้าทางโทรทัศน์ได้นำภาพกราฟิกเข้ามาช่วยในการโฆษณาสินค้า เพิ่มเพิ่มความน่าสนใจมากขึ้น เช่น การทำหิมะตกที่ กรุงเทพฯ การนำการ์ตูนมาประกอบการโฆษณาขนมเด็กเป็นต้น และการโฆษณาสินค้าด้วยภาพกราฟิกยังมีอยู่ทุกที่รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นตามป้ายรถเมล์ ข้างรถโดยสาร หน้าร้านค้าตามแหล่งชุมชนต่างๆ เป็นต้น

ที่มา : http://gdj.gdj.netdna-cdn.com/wp-content/uploads/2012/01/poster-advertisement-20.jpg

การนำเสนอข้อมูลต่างๆเป็นการสื่อความหมายให้ผู้รับสารเข้าใจในสิ่งที่ผู้สื่อต้องการ และการสื่อสารที่ดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ภาพเข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มความเข้าใจให้กับผู้รับสาร เช่น การสรุปยอดขายสินค้าในแต่ละปีด้วยกราฟ หรือการอธิบายระบบการทำงานของบริษัทด้วยแผนภูมเป็นต้น

ที่มา : http://www.dreamstime.com/royalty-free-stock-image-businessman-doing-presentation-clipart-picture-male-cartoon-character-image35916626

ธุรกิจรับสร้างเว็บเพจให้กับบริษัทหรือหน่วยงานต่างๆ ได้นำคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามาช่วยในการสร้างเว็บเพจเพื่อให้เว็บเพจที่สร้างมีความสวยงามน่าดูชมมายิ่งขึ้น

ที่มา : http://www.smashingapps.com/wp-content/uploads/2009/03/25-photoshop-tutorials-for-creating-that-perfect-web-page-design.jpg

ปัจจุบันธุรกิจคอมพิวเตอร์กราฟิกที่ใช้ในการตกแต่งภาพ (Retouching) ได้เปิดตัวขึ้นเป็นจำนวนมาก เพราะสามารถตอบสนองความต้องการของคนในการทำภาพตามจินตนาการได้เป็นอย่างดี เช่น การทำภาพผิวกายให้ขาวเนียนเหมือนดารา การทำภาพเก่าให้เป็นภาพใหม่ การทำภาพขาวดำเป็นภาพสีหรือการทำภาพคนแก่ให้ดูหนุ่มหรือสาวขึ้น เป็นต้น